กำเนิด โปสต์แมน หรือ บุรุษไปรษณีย์ ในสยาม

14 สิงหาคม 2018, 21:07:02

กำเนิด “โปสต์แมน” หรือ “บุรุษไปรษณีย์” ในสยาม

บุรุษไปรษณีในสมัยก่อน (ภาพจากหนังสือ "Twentieth Century Impressions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries, and Resources")

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศต่างๆ มากขึ้น ทำให้มีการตั้งกงสุลต่างประเทศขึ้นในประเทศ สถานกงสุลประเทศต่างๆ ได้นำระบบการเดินหนังสือ เรียกว่า “การไปรษณีย์” เข้ามาใช้ในการติดต่อกับสถานกงสุลประเทศอื่นๆ

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า “COURT” โดยพระบรมวงศานุวงศ์ที่ยังทรงพระเยาว์รวมกัน ๑๑ พระองค์ นับเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของคนไทย ต่อมา พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้เปลี่ยนเป็นชื่อภาษาไทยว่า “ข่าวราชการ”


>

เมื่อหนังสือออกฉบับแรกมีผู้สนใจจำนวนมาก โดยผู้ที่ต้องการต้องมารับหนังสือที่สำนักงาน ณ หอนิเพทพิทยาคมในพระบรมมหาราชวัง ริมประตูศรีสุนทรทุกวัน ในทุกวันการมาขอรับหนังสือของสมาชิกไม่พร้อมกันทำให้ต้องเก็บหนังสือค้างไว้จ่ายจำนวนมาก

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์หนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์ ๑๑ พระองค์ โปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือส่งให้สมาชิก เรียกว่า “โปสต์แมน” แต่งกายด้วยเครื่องแบบสีน้ำเงินสะพายกระเป๋าใส่หนังสือนำส่งให้สมาชิกทุกเช้า พร้อมทรงจัดพิมพ์ “ตั๋วแสตมป์” ใช้เป็นค่าบริการส่งหนังสือจำหน่ายให้แก่สมาชิกที่ต้องการ เพื่อใช้ผนึกลงบนหนังสือข่าวราชการเป็นงินค่านำส่งหนังสือ

การออกหนังสือข่าวราชการมีถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๙ และถูกล้มเลิกไป แต่การเดินส่งหนังสือ หรือการรับส่งจดหมายจากสมาชิกหนังสือพิมพ์ข่าวราชการ โดยเสียค่านำส่งเป็นตั๋วแสตมป์เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับตามที่อยู่ที่เขียนไว้บนหนังสือหรือจดหมาย ก็ควรนับว่าเป็นการเริ่มต้นของการไปรษณีย์ไทย


คำว่า “ไปรษณีย์” มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ในภาษาไทย โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงมีความสามารถในด้านอักษรศาสตร์อย่างมาก ทรงได้รับความไว้วางพระทัยจากเจ้านายให้ทรงช่วยบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ในภาษาไทยเพื่อทดแทนการใช้คำในภาษาอังกฤษที่มักพบอยู่ในการเรียกชื่อสิ่งของหรือวิทยาการใหม่ที่สังคมไทยแรกรับเข้ามาในช่วงรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา เช่นคำว่า “ไปรษณีย์” ที่รู้จักกันเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษคือ “โปสต์”

คงเป็นไปได้ว่า คำว่า “บุรุษไปรษณีย์” คงถูกเรียกตรงตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ “โปสต์” แปลว่า “ไปรษณีย์” และ “แมน” ที่แปลว่า “ผู้ชาย หรือ บุรุษ” ดังนั้น “โปสต์แมน” ก็คือ “บุรุษไปรษณีย์”



อ้างอิงข้อมูล

๑. หนังสือ “ย้อนอดีตการสื่อสารไทย”. จัดพิมพ์โดย การสื่อสารแห่งประเทศไทย. ๒๕๓๓

๒. หนังสือ “พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช”. จัดพิมพ์โดย วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม. ๒๕๕๔

ขอบที่ข้อมลูล จาก 
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_11770




 


****************************************************************************
บริการจัดทัวร์ 
เชียงตุง เมืองยอง สิบสองปันนา คุนหมิงจีน หลวงพระบาง วังเวียงลาว มัณฑเลย์ พุกาม ทะเลสาบอินเล ตองจีรัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ชาติพันธุ์เก่าก่อนบนผืนแผนแดนล้านนา

วัดน้ำไค้เมืองลา รัตนารามในหุบเขา ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาบวกแรงปรารถนาหวังเอาอานิสงส์ผลบุญที่ได้สร้าง จึงรังสรรค์เมืองฟ้าสวรรค์สูงชะลอเลื่อนมาตั้งอยู่กลางหุบดอยแห่งนี้

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน